วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

 




การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

            



                     ขั้นตอน  
 
                      1.เตรียมอุปกรณ์ใส่กล่อง ให้เด็กทายว่ามีอะไรอยู่ในกล่อง  
 
                       2.ครูนำอุปกรณ์มาให้เด็กดู  
 
                               1.ดอกอัญชัน 
 
                               2.ใบเตย 
 
                               3.น้ำมะนาว 
 
                               4.แก้ว 
 
                               5.หลอด
 
                               6.ถุงร้อน
 
                       3.ครูนำดอกอัญชันและใบเตยใส่ถุงแกง เพื่อให้เด็กขยี้แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
 
                       4.ครูนำน้ำดอกอัญชันและใบเตยที่คั่นแล้วมา ใส่แก้ว
 
                       5.ครูถามเด็กๆว่าถ้าครูนำน้ำมะนาวใส่ลงไปในแก้วของน้ำอัญชันและใบเตย เด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น...แต่ถามต่อว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
 
                       6.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำอัญชัน 10 หยด แล้วให้เด็กสังเกต
 
                       7.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำใบเตย 10 หยด แล้วให้เด็กสังเกต
 
                       8.ครูถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าเพราะอะไรถึงน้ำอัญชันที่หยดมะนาวลงไปจะเปลี่ยนสี
 
                       9.เมื่อเด็กตอบ ครูถึงอธิบาย



 

 

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 11

 


22900PREMMIKA


บันทึกครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


        เนื้อหาที่เรียน
            
                                                  โครงการวิทยาศาสตร์ (การทดลอง)

           คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก

                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม

                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้แล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์

                3.การนำเข้ากิจกรรม ครูสอนให้เป็นตัวอย่าง ต้องใช้คำถาม (ใครอยากที่จะช่วยบ้าง?)

                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูคสรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก

                5.ขั้นสรุป ครูต้องเท้าความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ

                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป


🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱


                        อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม ช่วยกันคิดหน่วนการเรียนรู้เพื่อที่จะทำการทดลอง


                                                           🌿    หน่วยผัก  🌿             






การทดลองผักเปลี่ยนสี

        1.ครูเตรียมอุปกรณ์ใส่ตะกร้า  แก้ว  สีผสมอาหาร  หัวไช้เท้า  ขึ้นฉ่าย  กวางตุ้ง

        2.ครูหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้นพร้อมแนะนำชื่อ

        3.ครูถามเด็กว่ามีใครอยากช่วยครูผสมสีผสมอาหารบ้าง

        4.ครูหยิบแก้วออกมา 4 ใบพร้อมให้เด็กนับจากนั้นให้เด็กหยิบเลขมาติดกำกับกับแก้วแต่ละใบ

        5.ครูแบ่งน้ำสีผสมอาหารใส่แก้วในปริมาณที่เท่ากันทั้ง 4 แก้ว

        6.ครูถามเด็กว่าถ้านำผักใส่ลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น

        7.ครูให้เด็กช่วยนำผักมาใส่แก้ว 

     แก้วที่ 1 ผักกาดขาว 
                                                         
     แก้วที่ หัวไช้เท้า
 
     แก้วที่ ขึ้นฉ่าย
                                                                                  
     แก้วที่ กวางตุ้ง

        8.ให้เด็กสังเกตผักในแก้วแต่ละชนิดแล้วครูถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้น

        9.พอผักมีการเปลี่ยนแปลงครูนำผักที่ไม่ได้ใส่แก้วนำมาให้เด็กได้เปรียบเทียบความแตกต่าง

        10.ครูถามเด็กว่าทำไมถึงเปลี่ยนสีและทำไมผักกวางตุ้งถึงไม่เปลี่ยนสี

        11.ครูถามเด็กว่าเด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้าง

        12.ครูสรุปว่าผักแต่ละชนิดมีการดูดซึมน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงเพราะน้ำเป็นอาหารของผักครูก็ยกตัวอย่างว่าทุกอย่างบนโลกนี้มันต้องการน้ำเด็กๆก็ต้องกินน้ำเพื่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของร่างกาย


        คำศัพท์
            
            1. Radish                  หัวไชเท้า

            2. The growth           การเจริญเติบโต

            3. Mixing                   การผสม
            
            4. White cabbage     ผัดกาดขาว

            5. Project                  โครงการ


       ประเมิน

            ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและที่อาจารย์มอบหมายงานและจดสิ่งที่อาจารย์ให้ดู พร้อมทั้งช่วยเพื่อนๆคิดการทดลอง

            ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุุกคนตั้งใจและช่วยกันคิดวิธีการทำการทดลอง

            ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียดเพิ่มเติมจากสิ่งที่ให้ดู และให้คำแนะนำในการคิดการทำการทดลอง


 


บันทึกครั้งที่ 10

 



บันทึกครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


                เนื้อหาที่เรียน
สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

กิจกรรมการทดลอง เรื่อง ลมกับพระอาทิตย์

 

 
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว วันที่อากาศแจ่มใสท้องฟ้าปลอดโปร่ง พระอาทิตย์ออกมาส่องแสงเจิดจ้าอย่างที่เคยเป็น เจ้าลมเพื่อนเก่าได้ผ่านมาเห็นเลยหยุดแวะทักทาย "เป็นอย่างไรบ้างพระอาทิตย์มิตรแห่งเรา ไม่เจอกันเสียนานสบายดีหรือไม่" เจ้าลมตะโกนทักทายสหายเก่าสุดเสียง พระอาทิตย์ก็ตอบรับอย่างดีใจด้วยไม่เจอลมตนนี้มาเนิ่นนานเหลือเกิน 


ขณะนั้นเองก็มีชายหนุ่มนักเดินทางสวมเสื้อคลุมกำลังเดินเล่นเตร็ดเตร่อยู่ เจ้าลมเห็นอย่างนั้นก็นึกสนุก พูดท้าทายบางสิ่งออกมา "พระอาทิตย์สหายรัก เรามาแข่งขันวัดความแข็งแกร่งกันสักหน่อยไหม" ลมกล่าวชักชวน "ได้สิ ๆ แข่งอะไรดีเล่า" พระอาทิตย์ตอบกลับแบบไม่คิดอะไร ด้านเจ้าลมก็ชี้ลงไปยังหนุ่มนักเดินทางคนนั้นพร้อมกล่าว "ง่ายมากเลย ทำยังไงก็ได้ให้เสื้อคลุมของพ่อหนุ่มคนนั้นหลุดออกมาจากตัว ใครทำสำเร็จถือเป็นผู้ชนะและแข็งแกร่งที่สุด" พระอาทิตย์พยักหน้าตอบรับ ลมเห็นว่าสหายรักรับคำท้าจึงโผไปหาหนุ่มนักเดินทาง พลางตะโกนไล่หลัง "ฉันขอเริ่มก่อนเลยนะ"


           เจ้าลมใช้กำลังทั้งหมดรวบรวมมาเป็นพายุขนาดย่อม หวังทำให้เสื้อคลุมตัวนั้นปลิดปลิว แต่หนุ่มนักเดินทางก็ไม่หวั่นไหวแถมยังจับเสื้อเอามาคลุมไว้แน่น ลมเห็นอย่างนั้นก็ยิ่งใช้แรงบีบบังคับมากขึ้นไปอีก จนหนุ่มคนนั้นแทบไม่มีแรงก้าวเดิน "ทำไมลมในวันนี้ถึงได้มีความโหดร้ายกับฉันนักนะ" หนุ่มนักเดินทางบ่นอย่างท้อใจแล้วดึงเสื้อคลุมตัวแน่นกว่าเดิม เจ้าลมจึงรวบรวมพลังอีกครั้งพร้อมกับเป่าไปยังหนุ่มคนนั้น ถึงขั้นเดินเซเกือบล้ม     
 


 

         "พอเถิดหนาลมเอ๋ย เราขอลองแข่งบ้างเถิด" พระอาทิตย์กล่าวกับลม ด้วยแรงที่ใกล้จะหมดไป ลมจึงยอมให้พระอาทิตย์มาแข่งต่อ คราวนี้อากาศแจ่มใสไร้พายุใด ๆ มาก่อกวน หนุ่มนักเดินทางเลยเดินต่อจนใกล้ถึงแนวป่า ด้านพระอาทิตย์เองก็เริ่มแผนการอย่างแยบยล เขาค่อย ๆ เปล่งแสงให้ร้อนทีละนิด ทีละนิด จนหนุ่มคนนั้นเริ่มรู้สึกอุ่นขึ้น อุ่นขึ้น จากความอบอุ่นกลายเป็นความร้อน พอเจอแนวต้นไม้เงียบสงบ หนุ่มนักเดินทางเลยเลือกที่จะเข้าไปนั่งพัก พร้อมถอดเสื้อคลุมตัวที่ลมท้าพระอาทิตย์วางไว้ข้างกายอย่างสบายใจ  "ความอ่อนโยนของเธอเหนือกว่าพละกำลังที่ฉันมีจริง ๆ" ลมชื่นชมในสิ่งที่พระอาทิตย์ทำลงไป "ไว้มีโอกาสคราใด เราจะแวะมาหาใหม่นะพระอาทิตย์เพื่อนรัก" ทั้งคู่จึงยิ้มร่ำลากันอย่างมีความสุข

             คุยกับลูก

             ถ้าหนูเลือกได้หนูจะเป็นลมหรือพระอาทิตย์ ถ้าหนูเป็นลมหรือพระอาทิตย์หนูจะทำยังไงกับเด็กคนนั้นเพราะอะไร

              สรุป

             เห็นไหมจ๊ะ การใช้กำลังและความรุนแรงแข่งขันกันไม่ทำให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการเสมอไปบางครั้งอาจจะต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นเพราะการกระทำอันก้าวร้าวของเราก็เป็นได้ แต่ถ้าเปลี่ยนความรุนแรงมาเป็นความอ่อนโยนและมีเมตตา ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมได้ผลสำเร็จตอบแทนอย่างที่หวังแน่นอน
 
           เล่นกับลูก

             ชวนลูกทำหมูแดดเดียว 

        มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง ดังนี้

         1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำหมูแดดเดียว มีด,เขียง,ภาชนะสำหรับคลุกหมู,กระด้งสำหรับตากหมู)

         2. เนื้อหมู

     3. เกลือ

 

                วิธีการทำ

                    1.นำเนื้อหมูมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ (ขั้นตอนนี้ผู้ปกครองควรทำเอง)


                  2.นำเนื้อหมูที่หั่นแล้วมาคลุกกับเกลือ(หมู500กรัม/เกลือ2ช้อนชา)แล้วหมักทิ้งไว้ ชั่วโมง


                3.นำหมูมาเรียงในกระด้งแล้วนำไปตากเป็นเวลาหนึ่งวัน

 

            วิทยาศาสตร์ (science)

- การระเหยของน้ำในเนื้อหมู

- ผลของการนำเนื้อหมูไปตากแดดกลายเป็นหมูแดดเดียวที่มีเนื้อสัมผัสแห้ง 

 

วิศวกรรมศาสตร์ (engineering)

- การวางแผนการทำหมูแดดเดียว

 

         คณิตศาสตร์ (mathematics)

-  น้ำหนักของเนื้อหมู

-  ปริมาณของเกลือที่ใส่

-  ระยะเวลาในการหมักหมูและระยะเวลาในการตากหมู


          มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาดังนี้

        1. ระบุปัญหาและทำความเข้าใจ
 
        2. รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
 
        3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
 
            4. วางแผน และดำเนินการแก้ปัญหากำหนดขั้นตอนในการสร้างชิ้นงาน แล้วลงมือสร้างชิ้นงาน

       5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพ

       6. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา

 

     คำศัพท์

          1.science วิทยาศาสตร์

          2.sun     พระอาทิตย์

          3.Learning การเรียนรู้

          4.Problem solving    การแก้ปัญหา

          5.tale     นิทาน


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ที่มอบหมายงานให้

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและคิดการทดลองของตนเอง

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด

 

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย

 





    Name of research : ความสามารถในการคิดวิเคราพห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

Conclusion 
ชื่องานวิจัย : ความสามารถในการคิดวิเคราพห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ผู้วิจัย : สุมาลี หมวดไธสง
การศึกษาระดับ : ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ศึกศึกษา : 2554

สรุปวิจัย : การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจ อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยการสังเกต  การทดลอง และการถามคำถาม
ประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็ก ถ้าเด็กรู้จักสิ่งต่างๆรอบๆตัว
การนำวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกในการเรียนรู้ ระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นศึกษาสิ่งต่างๆ ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากระตุ้นพัฒนนาการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ




สรุปบทความ

 



 Name of article : เงา...มหัศจรรย์ต่อสมอง

Conclusion : “เรื่องราวของ “เงา” เกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง เด็กๆหรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เวลาจะอธิบายว่า ‘เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร’ตอนเด็กๆ จำได้ว่าอยากได้คำอธิบายมากว่า ‘ทำไมเงามีรูปร่างเหมือนวัตถุที่ทำให้เกิดเงา’จนมีการทดลองเรื่องแสงส่องผ่านอะไรได้บ้างจึงเกิดความคิดรวบยอดและสรุปได้ว่าเงาคือส่วนที่มืดซึ่งเกิดจาการมีวัตถุไปขวางกั้นแสงทำให้มองเห็นเป็นรูปร่างของวัตถุนั้น ต่อมาเมื่อเรียนฝึกหัดครูปฐมวัยได้เรียนเรื่องการเล่านิทานโดยใช้เงามือก็ยิ่งคิดว่าเงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ”
เด็กๆ เรียนรู้อะไรจากเงา ?
- วิทยาศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่องแสง และทักษะการสังเกตรูปร่างของเงาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทักษะการสืบค้นและหาข้อสรุป

- คณิตศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่อง รูปทรง ขนาด จำนวน มิติสัมพันธ์ และการวัด เช่น การวัดเงาส่วนสูงของตนเองและเพื่อนๆ

- ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ : จากการคิดสร้างเงารูปแปลกๆ คิดสร้างเรื่องหรือสิ่งใหม่ๆ
- ภาษาและการสื่อสาร : ได้จากการแต่งเป็นนิทานและคำคล้องจอง



เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

 



เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

            วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้ การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการพัฒนาทางสติปัญญา และส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก จึงต้องมีเทคนิดให้กับคุณครูในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย 


 
  

  























การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

  การทดลองน้ำเปลี่ยนสี                                          ขั้นตอน                             1.เตรียมอุปกรณ์ใส่กล่อง ให้เด็กทายว่ามีอ...