วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 4

 





บันทึกครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


        เนื้อหาที่เรียน 

                                                       การทดลองลาวาแลมป์  

        ขั้นตอนที่ 1ให้เด็กๆทายหรือบอกชื่ออุปกรณ์ที่เราเตรียมมา เมื่อเด็กๆพูดเราจะวางเรียงจากซ้ายไปขวาของเด็กและขวาไปซ้ายของคุณครู

         ขั้นตอนที่ 2 สาธิตการทดลองให้เด็กๆดู ขออาสาสมัคร ออกมาช่วยคุณครูเทน้ำใส่ลงในขวดประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นเทน้ำมันใส่ลงในขวดประมาณเกือบเต็มขวด ตามด้วยหยดสีผสมอาหารลงไปในขวด รอให้สีผสมอาหารตกลงไปอยู่ก้นขวด แล้วจึงใส่ยาเม็ดฟู่ลงไป
 
        ขั้นตอนที่ 3 แต่ก่อนจะใส่ยาเม็ดฟู่ลงไปในขวด คุณครูจะต้องถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูใส่ยาเม็ดฟู่ลงไปในขวด เด็กๆลองสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
 
        ขั้นตอนที่ 4 คุณครูใส่ยาเม็ดฟู่ลงไปในขวด จากนั้นเม็ดฟู่จะดันสีผสมอาหารขึ้นมา ลอยตัวอยู่ในน้ำมันคล้ายลาวาเดือดปุดๆ

         ขั้นตอนที่ 5 คุณครูถามเด็กๆว่า เมื่อใส่ยาเม็ดฟู่ลงไปแล้วเกิดอะไรขึ้น ตรงกับที่เด็กๆคิดไว้หรือเปล่า เด็กๆสังเกตเห็นอะไร มีอะไรเปลี่ยนแปลง

         ขั้นตอนที่ 6 เป็นเพราะยาเม็ดฟู่ที่เกิดการละลายน้ำแล้วทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อหยดสีขึ้นไปด้านบน จนเมื่อลอยไปถึงผิวด้านบนสุดฟองอากาศก็จะแตกออก หยดน้ำสีก็จะตกลงข้างล่าง ด้วยความหนาแน่ที่มากกว่าน้ำมันเราจึงเห็นว่าของเหลวสีสวยในขวดมีการเคลื่อนที่ไปมาจนกระทั่งยาเม็ดฟู่ละลายหมด


         คำศํพท์


           1. Mobile                             การเคลื่อนที่

           2. Experiment                     การทดลอง

           3. Carbon dioxide gas        ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

           4. Density                            ความหนาแน่น

           5. Demonstration                สาธิต


         ประเมิน 

             ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน และทำการทดลอง

             ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน

             ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด





            









วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 3

 

22900PREMMIKA

บันทึกครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


      เนื้อหาที่เรียน

             การที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆ

              1.เรื่องที่เด็กสนใจ

              2.เรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก

              3.สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก (แต่ละโรเรียนอาจจะสอนแตกต่างกัน เช่น โรงเรียนภาคใต้ อาจจะสอนเกี่ยวกับ สึนามิ ) 

              4.พัฒนาการของเด็ก

 🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳🌳

            แม่บทของการจัดการสอนให้กับเด็ก คือ หลักสูตรปฐมวัย จะมีด้วยกัน 4 สาระสำคัญ

               1.เกี่ยวกับตัวเด็ก

               2.บุคคลและสถานที่

               3.ธรรมชาติรอบนตัว

               4.สิ่งแวดล้อม

🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷

             พัฒนาการของเด็กปฐมวัย   

                  🍑 ความหมาย  ความสามารถของเด็กที่แสดงออกตามช่วงอายุ

                  🍒 ลักษณะ      เป็นการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง

               ต้องส่งเสริมเพราะจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในขั้นต่อไป

        นิยามของเด็ก คือ ตั้งแต่มีกปฏิสัมพันธ์จนถึง6ปี

           👉การทดลองเป็นวิธีการ

           👉การสำรวจเป็นวิธีการ

           👉การสังเกตเป็นวิธีการ

           👉การเล่นเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้


       พัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์

          ● ขั้นที่ ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (แรกเกิด - 2 ปี) 

           วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

          ● ขั้นที่ ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด   ( อายุ  2 - 7 ปี) แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
 
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป ( อายุ 2 - 4 ปี ) เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น และจะมีการใช้ภาษา
    
                - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ ( อายุ 4 - 7 ปี )มีการใช้เหตุผลมากขั้น

           ● ขั้นที่ ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (อายุ 7 - 11 ปี)

             เด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ ได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ของงของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง

            ● ขั้นที่ ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม  (อายุ 11 - 15 ปี)

           เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับรู้


         การเล่น  

           เป็นวิธีการในการเรียนรู้ของเด็ก คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมืองกระทำต่อวัตถุเพื่อเลือกและตัดสินใจอย่างมีความสุข

           คือ การที่เด็กใช้ประสาทรับรู้ทั้ง 5 เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเพื่อส่งไปยังสมองเพื่อรับรู้ข้อมูล บางครั้งอาจจะไปทับกับความรู้ใหม่ แต่บางครั้งก็มีที่ต่างออกจากเดิม ทำให้สมองมีการปรับโครงสร้าง และเกิดความรู้ใหม่

           การที่เด็กเกิดความรู้ใหม่นั้น เด็กจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อน

       เด็กแสดงพฤติกรรม = เป็นพัฒนาการของเด็กเช่นกัน

     การวัดความสามารถและพัฒนาการ

        - ความกล้าแสดงออก

        - การอธิบาย

        - การแสดงพฤติกรรม


      การประเมินเด็ก 

           ต้องมีวัตถุประสงค์ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กเกิดความรู้ใหม่ คือ เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือสามารถบอกเล่า หรือใช้เป็นการวาดภาพ


     คำศัพท์

          1. Observe        สังเกต

          2. Category       ประเภท

          3. Process        กระบวนการ

          4. Measure       การวัด 

          5. Infer             อ้างอิง


        ประเมิน

              ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและตั้งใจตอบคำถาม

              ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม

              ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด




วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 2

 





บันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


        เนื้อหาที่เรียน

          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ทำงานกลุ่มโดยให้กระดาษมาแผ่นและปากกามาเขียนงานโดยให้เขียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ว่าพูดถึงอะไร มี 3 ข้อ คือ

           1.เด็กปฐมวัย 

           2.วิทยาศาสตร์ 

           3.การจัดประสบการณ์


         1. เด็กปฐมวัย

            การอบรมเลี้ยงดู  เพราะ มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก 

            พัฒนาการ  เพราะเด็กมีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เราต้องส่งเสริมเพื่อให้มีผลดีต่อพัฒนาการขั้นต่อไปของเด็ก

            สมอง เนื่องจาก สมองในวัยของเด็กจะสามารถรับรู้ข้อมูลและซึบซับ ในบางครั้งข้อมูลที่ได้รับอาจไปทับซ้อนกับความรู้เดิมที่แตกต่างกันและปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

            2.วิทยาศาสตร์

           การทดลอง เพราะ เด็กจะได้ลองผิดลองถูก ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ตั้งสมมุติฐาน เก็บข้อมูล และสรุป

           สิ่งแวดล้อม เพราะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลง

           3.การจัดประสบการณ์

             สื่อ เพราะ สื่อจะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงในการเรียนรู้ของเด็ก

             การเล่น เพราะ การเล่นเป็นวิธีการของการเรียนรู้ของเด็ก


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻


           ทักษะและเทคนิคในการสอนของอาจารย์

              1.การอธิบาย ในสิ่งที่นักศึกาายังตอบไม่ได้

              2.ใช้กาตั้งคำถาม 

              3.ให้ทำงานกลุ่ม เพื่อให้รู้จักวางแผน

🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌🐌


     คำถาม

       1.วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?

        ▸ไม่จริง เพราะ วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด

        2.ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?

       ▸ยาก เพราะการที่ครูจะสอนนั้นต้องหากิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนที่ทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายที่สุดมาสอนและจะต้องคำนึกถึงช่วงวัยรวมถึงพัฒนาการของเด็ก

       3.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?

       ▸จัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์โดยผ่านการเล่น ในการลงมือปฏิบัติ 


     คำศัพท์

          1.science          วิทยาศาสตร์

          2.intermediary   ตัวกลาง

          3.Learning         การเรียนรู้

          4.Practice          การปฏิบัติ

          5.Hypothesis     สมมุติฐาน


      ประเมิน

                 ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังและแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน

                 ประเมินเพื่อน   ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม

                 ระเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด



วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 1

  





บันทึกครั้งที่ 1 
วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.

        เนื้อหาที่เรียน

          วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดวิชานี้ว่าต้องเรียนอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่ต้องเรียนอย่างไร อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดในการทำบล็อคเพื่อใช้เป็นแฟ้มสะสมผลงานของตนเอง ทั้งในเรื่องส่วนประกอบต่างๆ ที่จะต้องทำลงในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้มอบหมายงาน 

ดังต่อไปนี้

          ▸บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          ▸ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          ▸วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อย่างละ 1 เรื่องไม่ให้ซ้ำกับเพื่อนในห้อง 

          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน โดยให้นักศึกษาตั้งชื่อกลุ่มพร้อมใส่รูปสมาชิกจากนั้น อาจารย์ให้กระดาษมาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับรายวิชาที่จะเรียนเป็นความคิดของตนเองว่ารายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้างที่นักศึกษาคิดว่าต้องเรียนในรายวิชานี้ ให้ออกแบบเป็นมายแมพและถ่ายรูปลงกลุ่มของตนเอง


         คำศัพท์

             1. Article                     บทความ

             2. Science                  วิทยาสาสตร์

             3. Research                วิจัย

             4. Learning record      บันทึกการเรียนรู้

             5. The experience     การจัดประสบการณ์


       ประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้

          ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟัง

          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียด


การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

  การทดลองน้ำเปลี่ยนสี                                          ขั้นตอน                             1.เตรียมอุปกรณ์ใส่กล่อง ให้เด็กทายว่ามีอ...