วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 10

 



บันทึกครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30 - 12:30 น.


                เนื้อหาที่เรียน
สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

กิจกรรมการทดลอง เรื่อง ลมกับพระอาทิตย์

 

 
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว วันที่อากาศแจ่มใสท้องฟ้าปลอดโปร่ง พระอาทิตย์ออกมาส่องแสงเจิดจ้าอย่างที่เคยเป็น เจ้าลมเพื่อนเก่าได้ผ่านมาเห็นเลยหยุดแวะทักทาย "เป็นอย่างไรบ้างพระอาทิตย์มิตรแห่งเรา ไม่เจอกันเสียนานสบายดีหรือไม่" เจ้าลมตะโกนทักทายสหายเก่าสุดเสียง พระอาทิตย์ก็ตอบรับอย่างดีใจด้วยไม่เจอลมตนนี้มาเนิ่นนานเหลือเกิน 


ขณะนั้นเองก็มีชายหนุ่มนักเดินทางสวมเสื้อคลุมกำลังเดินเล่นเตร็ดเตร่อยู่ เจ้าลมเห็นอย่างนั้นก็นึกสนุก พูดท้าทายบางสิ่งออกมา "พระอาทิตย์สหายรัก เรามาแข่งขันวัดความแข็งแกร่งกันสักหน่อยไหม" ลมกล่าวชักชวน "ได้สิ ๆ แข่งอะไรดีเล่า" พระอาทิตย์ตอบกลับแบบไม่คิดอะไร ด้านเจ้าลมก็ชี้ลงไปยังหนุ่มนักเดินทางคนนั้นพร้อมกล่าว "ง่ายมากเลย ทำยังไงก็ได้ให้เสื้อคลุมของพ่อหนุ่มคนนั้นหลุดออกมาจากตัว ใครทำสำเร็จถือเป็นผู้ชนะและแข็งแกร่งที่สุด" พระอาทิตย์พยักหน้าตอบรับ ลมเห็นว่าสหายรักรับคำท้าจึงโผไปหาหนุ่มนักเดินทาง พลางตะโกนไล่หลัง "ฉันขอเริ่มก่อนเลยนะ"


           เจ้าลมใช้กำลังทั้งหมดรวบรวมมาเป็นพายุขนาดย่อม หวังทำให้เสื้อคลุมตัวนั้นปลิดปลิว แต่หนุ่มนักเดินทางก็ไม่หวั่นไหวแถมยังจับเสื้อเอามาคลุมไว้แน่น ลมเห็นอย่างนั้นก็ยิ่งใช้แรงบีบบังคับมากขึ้นไปอีก จนหนุ่มคนนั้นแทบไม่มีแรงก้าวเดิน "ทำไมลมในวันนี้ถึงได้มีความโหดร้ายกับฉันนักนะ" หนุ่มนักเดินทางบ่นอย่างท้อใจแล้วดึงเสื้อคลุมตัวแน่นกว่าเดิม เจ้าลมจึงรวบรวมพลังอีกครั้งพร้อมกับเป่าไปยังหนุ่มคนนั้น ถึงขั้นเดินเซเกือบล้ม     
 


 

         "พอเถิดหนาลมเอ๋ย เราขอลองแข่งบ้างเถิด" พระอาทิตย์กล่าวกับลม ด้วยแรงที่ใกล้จะหมดไป ลมจึงยอมให้พระอาทิตย์มาแข่งต่อ คราวนี้อากาศแจ่มใสไร้พายุใด ๆ มาก่อกวน หนุ่มนักเดินทางเลยเดินต่อจนใกล้ถึงแนวป่า ด้านพระอาทิตย์เองก็เริ่มแผนการอย่างแยบยล เขาค่อย ๆ เปล่งแสงให้ร้อนทีละนิด ทีละนิด จนหนุ่มคนนั้นเริ่มรู้สึกอุ่นขึ้น อุ่นขึ้น จากความอบอุ่นกลายเป็นความร้อน พอเจอแนวต้นไม้เงียบสงบ หนุ่มนักเดินทางเลยเลือกที่จะเข้าไปนั่งพัก พร้อมถอดเสื้อคลุมตัวที่ลมท้าพระอาทิตย์วางไว้ข้างกายอย่างสบายใจ  "ความอ่อนโยนของเธอเหนือกว่าพละกำลังที่ฉันมีจริง ๆ" ลมชื่นชมในสิ่งที่พระอาทิตย์ทำลงไป "ไว้มีโอกาสคราใด เราจะแวะมาหาใหม่นะพระอาทิตย์เพื่อนรัก" ทั้งคู่จึงยิ้มร่ำลากันอย่างมีความสุข

             คุยกับลูก

             ถ้าหนูเลือกได้หนูจะเป็นลมหรือพระอาทิตย์ ถ้าหนูเป็นลมหรือพระอาทิตย์หนูจะทำยังไงกับเด็กคนนั้นเพราะอะไร

              สรุป

             เห็นไหมจ๊ะ การใช้กำลังและความรุนแรงแข่งขันกันไม่ทำให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการเสมอไปบางครั้งอาจจะต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นเพราะการกระทำอันก้าวร้าวของเราก็เป็นได้ แต่ถ้าเปลี่ยนความรุนแรงมาเป็นความอ่อนโยนและมีเมตตา ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมได้ผลสำเร็จตอบแทนอย่างที่หวังแน่นอน
 
           เล่นกับลูก

             ชวนลูกทำหมูแดดเดียว 

        มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง ดังนี้

         1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำหมูแดดเดียว มีด,เขียง,ภาชนะสำหรับคลุกหมู,กระด้งสำหรับตากหมู)

         2. เนื้อหมู

     3. เกลือ

 

                วิธีการทำ

                    1.นำเนื้อหมูมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ (ขั้นตอนนี้ผู้ปกครองควรทำเอง)


                  2.นำเนื้อหมูที่หั่นแล้วมาคลุกกับเกลือ(หมู500กรัม/เกลือ2ช้อนชา)แล้วหมักทิ้งไว้ ชั่วโมง


                3.นำหมูมาเรียงในกระด้งแล้วนำไปตากเป็นเวลาหนึ่งวัน

 

            วิทยาศาสตร์ (science)

- การระเหยของน้ำในเนื้อหมู

- ผลของการนำเนื้อหมูไปตากแดดกลายเป็นหมูแดดเดียวที่มีเนื้อสัมผัสแห้ง 

 

วิศวกรรมศาสตร์ (engineering)

- การวางแผนการทำหมูแดดเดียว

 

         คณิตศาสตร์ (mathematics)

-  น้ำหนักของเนื้อหมู

-  ปริมาณของเกลือที่ใส่

-  ระยะเวลาในการหมักหมูและระยะเวลาในการตากหมู


          มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาดังนี้

        1. ระบุปัญหาและทำความเข้าใจ
 
        2. รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
 
        3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
 
            4. วางแผน และดำเนินการแก้ปัญหากำหนดขั้นตอนในการสร้างชิ้นงาน แล้วลงมือสร้างชิ้นงาน

       5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพ

       6. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา

 

     คำศัพท์

          1.science วิทยาศาสตร์

          2.sun     พระอาทิตย์

          3.Learning การเรียนรู้

          4.Problem solving    การแก้ปัญหา

          5.tale     นิทาน


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ที่มอบหมายงานให้

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและคิดการทดลองของตนเอง

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น